International-investment-gelab1

การลงทุนระหว่างประเทศ หมายถึงอะไร

International-investment-gelab1

เมื่อพูดถึงการลงทุนคำว่า การลงทุนระหว่างประเทศน่าจะเป็นคำที่มักได้ยินกันอยู่บ่อยๆ แต่ก็เชื่อว่าน่าจะยังเกิดข้อสงสัยขึ้นกับคนจำนวนไม่น้อยที่ยังอาจไม่ค่อยเข้าใจในรายละเอียดว่า การลงทุนระหว่างประเทศ มีความหมายว่าอย่างไรกันแน่ หรือว่าการลงทุนระหว่างประเทศจริงๆ แล้วมีความเหมือนหรือแตกต่างกับการลงทุนในประเทศมากน้อยขนาดไหน ซึ่งการเข้าใจความหมายด้านการลงทุนเหล่านี้จะช่วยให้รับรู้ในรายละเอียดต่างๆ ได้มากขึ้นกว่าเดิมแถมยังอาจทำให้มองเห็นภาพได้กว้างมากขึ้นว่าจริงๆ แล้วการลงทุนระหว่างประเทศไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอะไรสักเท่าไหร่นัก

ความหมายของการลงทุนระหว่างประเทศ

การลงทุนระหว่างประเทศก็คือการที่ผู้ประกอบการจากประเทศหนึ่งไม่ว่าจะเป็นทั้งจากรัฐบาลหรือจากเอกชนมีการนำเงินทุน ทรัพย์สิน หรือเทคโนโลยีต่างๆ ไปทำการลงทุนในอีกประเทศหนึ่งซึ่งผู้ถือหุ้นสามารถเข้าไปดำเนินการควบคุมกิจการได้จากการที่มีสัดส่วนสำหรับการถือหุ้นอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งสัดส่วนของการถือหุ้นที่ว่านี้ทำให้การเข้าไปควบคุมกิจการของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันออกไป ปกติแล้วการถือหุ้นสามัญหรือหุ้นที่มีสิทธิ์ในการออกเสียงแค่ถือประมาณ 10-25% ก็สามารถเข้าบังคับควบคุมธุรกิจระหว่างประเทศได้แล้วเช่นกัน ซึ่งการลงทุนระหว่างประเทศนี้สามารถลงทุนได้ทั้งแบบทางตรงและการลงทุนแบบทางอ้อมด้วย

การลงทุนทางตรงคืออะไร

การลงทุนทางตรงก็คือการนำเงินทุน ทรัพย์สิน หรือเทคโนโลยีต่างๆ เคลื่อนย้ายจากประเทศหนึ่งซึ่งผู้ลงทุนเป็นเจ้าของไปยังอีกประเทศที่ต้องการจะลงทุน เจ้าของทุนจะยังคงมีอำนาจในการดูแลกิจการที่คล้ายกับว่าเป็นของตนเองแบบเต็มตัว การลงทุนทางตรงนี้ส่วนใหญ่แล้วเรามักเรียกว่า การลงทุนในรูปบรรษัทข้ามชาติ จะมีบริษัทแม่อยู่ในประเทศของเจ้าของทุนพร้อมกันนี้ยังมีบริษัทที่เป็นสาขาย่อยอยู่ตามประเทศต่างๆ หลายประเทศ ซึ่งหากมองกันในภาพรวมแล้วบรรษัทข้ามชาติเหล่านี้มักจะเป็นบรรษัทที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐฯ, อังกฤษ, เยอรมนี, ฝรั่งเศส, ญี่ปุ่น ซึ่งกิจการที่บรรษัทข้ามชาติเหล่านี้เข้าไปลงทุนด้วยก็จะมีความหลากหลายมาก อาทิ กิจการด้านเวชภัณฑ์, เคมีภัณฑ์, น้ำมัน, ยานยนต์, อุปกรณ์ด้านการสื่อสาร, เครื่องใช้ไฟฟ้า, อิเล็กทรอนิกส์, ห้างสรรพสินค้า, อาหาร เป็นต้น

การลงทุนทางอ้อม คืออะไร

มักเรียกอีกอย่างว่า การลงทุนในทรัพย์สินทางการเงิน เป็นรูปแบบการลงทุนประเภทซื้อขายตราสารหุ้น ตราสารหนี้ สามารถอยู่ได้ทั้งในรูปแบบของพันธบัตร, ตั๋วเงิน หรือเงินกู้ต่างประเทศระยะสั้นและยาว ผู้ลงทุนจะไม่มีอำนาจต่อการบริหารจัดการ ส่วนมากมักเป็นปัจเจกบุคคล, รูปแบบกองทุน และนักลงทุนสถาบัน