ppp_thumnail

Public Private Partnership – PPP

การร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชน (Public-Private Partnership : PPP)  คือ  การที่รัฐบาลอนุญาตให้เอกชนมาร่วมลงทุนด้วย ในสวัสดิการหรือโครงการของรัฐ ที่\เป็นสาธารณูปโภคต่างๆ  เพื่อให้การพัฒนาประเทศเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ทำไมรัฐต้องเชิญเอกชนมาร่วมลงทุน แล้วทำไมรัฐไม่ลงทุนเอง

ด้วยขอจำกัดของแหล่งเงินทุนของรัฐและต้องคำนึงถึงเงินคงคลัง และด้วยข้อจำกัดหลายๆ อย่าง เช่น เงื่อนไขการจัดสรรงบประมาณ การเบิกจ่ายและที่สำคัญการระดมทุน ที่ทางเอกชน สามารถทำได้ง่าย และรวดเร็วมากกว่า

แหล่งการระดมทุนของภาครัฐ

เงินกู้ต่างประเทศ  โดยการกู้ผ่านสถาบันทางการเงินระหว่างประเทศ หรือ  จากรัฐบาลต่างประเทศ  เช่น  ธนาคารโลก (World Bank) ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) หรือองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency: JICA) เพื่อกู้เงินจากรัฐบาลญี่ปุ่น เป็นต้น

เงินกู้ภายในประเทศ โดยกู้จากธนาคารพาณิชย์ที่อยู่ในประเทศไทย สถาบันการเงินของรัฐ และในรูปแบบการขายพันธบัตรรัฐบาล

การระดมทุนรูปแบบใหม่ๆ  ซึ่งเป็นแนวคิดที่ทำให้เกิด การลงทุนร่วมกันโดยรัฐและเอกชนขึ้น  นั่นคือ  Public Private Partnership (PPP) เป็นต้น

การลงทุนร่วมกันโดยรัฐกับเอกชน (Public-Private Partnership : PPP)  เป็นโครงการที่ภาครัฐ  ได้อนุญาตให้ภาคเอกชนเข้ามาเป็นผู้ดำเนินโครงการ  ในด้านบริการสาธารณะต่างๆ  เพื่อช่วยในการพัฒนาประเทศให้เกิดประสิทธิภาพและบริการที่คุ้มค่า มากกว่าการที่รัฐจะไปบริหารหรือเป็นเจ้าของเอง

สำหรับลักษณะการลงทุนแบบ PPP  มี 3 แบบคือ

Build-Transfer (BT)

การลงทุนและว่าจ้างโดยรัฐ สำหรับการลงทุนในลักษณะนี้ รัฐได้ว่าจ้างให้เอกชนเป็นผู้ก่อสร้าง และรัฐเป็นผู้จัดสรรเงินทุน ให้เอกชน และรัฐเป็นผู้ดำเนินการเอง  ส่วนเอกชนก็ทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบ ก่อสร้างและจัดสรรต้นทุนการก่อสร้าง

Build-Operate-Transfer (BOT)

พัฒนาและดำเนินโครงการโดยเอกชน แต่กรรมสิทธิ์เป็นของรัฐ  โดยเอกชนเป็นผู้ดำเนินงานทั้งการพัฒนาและดำเนินโครงการ  มีการเซ็นสัญญาระหว่ารับและเอกชน เมื่อก่อสร้างเสร็จ และดำเนินการไปตามระยะเวลาที่กำหนด ก็ต้องโอนกรรมสิทธ์ให้แก่รัฐ

Build-Own-Operate-Transfer (BOOT)หรือ  Build-Own-Operate (BOO)

เอกชนเป็นผู้พัฒนาโครงการ เสมือนเป็นเจ้าของโครงการ  ซึ่งการดำเนินงานจะอยู่ในรูปแบบของเอกชน ส่วนกรรมสิทธ์จะเป็นของรัฐหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับความตกลง และสัญญาระหว่างเอกชนและภาครัฐ

การลงทุนแบบ PPP ประสบความสำเร็จเพราะอะไร

การทำงานอย่างโปร่งใส และมีการทำประชาพิจารณ์ ก่อนการลงทุนที่ชัดเจน ร่วมกับ ภาคเอกชนที่เข้ามาลงทุน ต้องมีมาตรฐาน มีความเชี่ยวชาญในโครงการที่จะทำ

การลงทุนแบบ PPP ไม่ประสบความสำเร็จเพราะอะไร

ความไม่โปร่งใสในการร่วมลงทุน ทำให้การดูแลโครงการเห็นผลไม่เป็นรูปธรรม ภาครัฐไม่ได้ใส่ใจเท่าที่ควร และกฎระเบียบ สัญญาต่างๆที่เป็นอุปสรรคในการทำโครงการ  และกฎหมายที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำโครงการ ซึ่งเป็นอุปสรรคใหญ่ในการทำโครงการต่างๆ ในอนาคต

โครงการการลงทุนในรูปแบบ PPP ที่โดดเด่นและรูปแบบที่ดี

ขอยกตัวอย่างโครงการที่ประสบความสำเร็จที่ดี และกำลังดำเนินการอยู่  เช่น โครงการทางด่วน หรือรถไฟฟ้า และระบบคมนาคม  เป็นต้น